หลักสูตรแกนกลางประถมศึกษา

 หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553




 ที่มาของหลักสูตร
   หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 เป็นหลักสูตรที่ออกแบบโดยใช้หลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรท้องถิ่น  ตลอดจนผลสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง เป็นหลักในการออกแบบ  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลกาเรียนรู้และประสบการณ์ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ใช้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระบบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มี  ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก      คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึคมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
 
 หลักการของหลักสูตร
 หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 มีหลักการสำคัญดังนี้
 1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
 2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ
 3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
 4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
 5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
 1.พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตามหลักธรรมของพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึคหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 2.พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้อันเป็นสากล มีความสามารถในการแก้ปัญหา การคิด การสื่อสาร การใช้ทักษะและการใช้เทคโนโลยี
 3.ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย
 4.มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึคมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 5.มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข

 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
   หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 กำหนดลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนออกเป็น 8 ลักษณะ
  1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2.ซื่อสัตย์สุจริต
  3.มีวินัย
  4.ใฝ่เรียนรู้
  5.อยู่อย่างพอเพียง
  6.มุ่งมั่นในการทำงาน
  7.รักความเป็นไทย
  8.มีจิตสาธารณะ

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
   หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 มุ่งพัฒนาให้นักเรียนที่ศึกษาจนจบหลักสูตร มีความสามารถและสมรรถนะที่สำคัญ ดังนี้
 1.ความสามารถในการสื่อสาร
 2.ความสามารถในการคิด
 3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
 4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

  โครงสร้างหลักสูตร แกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553
   กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษา
                                                              1           2          3          4        5         6
               ภาษาไทย                            200      200     200       160    160     160
              คณิตศาสตร์                         200      200      200      160     160    160
              วิทยาศาสตร์                          80        80         80         80       80      80  
              สังคมศึกษาฯ                         80        80         80         80       80      80
              ประวัติศาสตร์                         40       40         40         40       40      80
             สุขศึกษา-พลศึกษา                 80       80         80         80       80      80
              ศิลปะ                                      80       80         80         80       80      80
              การงานอาชีพฯ                       40       40        40          80       80      80
              ภาษาต่างประเทศ                   40       40        40          80      80       80
               รายวิชาเพิ่มเติม                     40       40        40          40      40       40
               กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน          120       120     120       120    120    120
               รวม                                    1000      1000   1000   1000 1000   1000
 

  การวัดและการประเมินผล
  หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 แบ่งการวัดและการประเมินผลออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
 1.ระดับโรงเรียน
      การวัดและการประเมินผลระดับชั้นเรียน
      การวัดและการประเมินผลระดับสถานศึกษา
              2.การวัดและการประเมินผลระดับเขตพื้นที่ (LAS)
              3.การวัดและการประเมินผลระดับชาติ `(O-NET)


การให้ระดับผลการเรียน
      หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 ให้ระดับผลการเรียนเป็น
 8 ระดับคุณภาพดังนี้
 ๔   หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม  ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ  ๘๐  ขึ้นไป
 ๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนดีมาก  ได้คะแนนร้อยละ  ๗๕ - ๗๙
 ๓ หมายถึง ผลการเรียนดี   ได้คะแนนร้อยละ  ๗๐  -  ๗๔
 ๒.๕ หมายถึง             ผลการเรียนค่อนข้างดี     ได้คะแนนร้อยละ  ๖๕  -  ๖๙
 ๒ หมายถึง             ผลการเรียนน่าพอใจ    ได้คะแนนร้อยละ  ๖๐  -  ๖๔
 ๑.๕ หมายถึง ผลการเรียนพอใช้  ได้คะแนนร้อยละ  ๕๕  -  ๕๙
 ๑ หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ          ได้คะแนนร้อยละ  ๕๐  -  ๕๔
        ๐     หมายถึง             ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ         ได้คะแนนร้อยละ  ๐  -  ๔๙

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรียนพิเศษระดับประถมศึกษา เรียนพิเศษเพราะอะไร เรียนในห้องไม่พอใช่ไหม

คณะครุศาสตร์ ครู จุฬา สาขาประถมศึกษา อยากเรียน ไม่รักเด็กก็เรียนได้ไหม

การวิจัยในชั้นเรียนระดับประถมศึกษา